วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เส้นทางสู่ทหารหญิง

           
           
             จากการที่ผมได้ทำเพจข่าวสารการรับสมัครเข้ารับราชการทหาร  (https://www.facebook.com/joinmilitary) ขึ้นมานั้น คำถามที่เจอมากที่สุดก็คือ คำถามเกี่ยวกับการรับสมัครทหารหญิง เช่น จะมีการรับสมัครทหารหญิงเมื่อไหร่ ไม่มีรับผู้หญิงบ้างหรือ เป็นต้น ซึ่ง อาชีพรับราชการทหารนั้น เหมาะสมกับผู้ชายมากกว่า เพราะว่าในการทำงานส่วนใหญ่จะมีการใช้พละกำลัง
ในการทำงานมากกว่า เช่น การรบ การฝึกต่างๆ การลาดตระเวน เป็นต้น ซึ่งบางภารกิจก็ต้องปฏิบัติงานกันแบบข้ามวันข้ามคืน ไม่ได้นอน ไม่ได้อาบน้ำ ต้องใช้ความอดทนทางกายสูง แต่ก็มีผู้หญิงหลายคนที่มีความไฝ่ฝันอยากจะรับราชการทหาร มียศนำหน้าชื่อ ได้แต่งเครื่องแบบที่ทรงเกียรติ มีอาชีพที่มั่นคง และสวัสดิการต่างๆ
           งานราชการทหารในปัจจุบัน จะมีงานทางธุรการมากขึ้น ดังนั้น จึงมีการนำผู้หญิงเข้ามาทำงานในงานที่เหมาะสม เพื่อความราบลื่นของการทำงาน การรับสมัครสอบทหารหญิงนั้นจะไม่มีในหน่วยที่เป็นเหล่ารบ เช่น กองพลทหารราบ กองพลทหารม้า เป็นต้น แต่จะมีในหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยรบโดยตรง เช่น กองบัญชาการกองทัพภาค กรมพลาธิการทหารบก กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นต้น
          ในการสอบทหารหญิงนั้น ก็จะมีหลายแนวทาง วันนี้ผมขอแบ่งแนวทางเป็น แบบ ดังนี้
              1.แบ่งตามการสอบ
                 -นายทหารประทวน ผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีวุฒิการศึกษาอย่างน้อย ม.3 ขึ้นไป อายุตั้งแต่ 18 ปี จนถึง 30 ปี (นับเกณฑ์อายุ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน - พ.ศ.เกิด)
                 -นายทหารสัญญาบัตร ผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป อายุตั้งแต่ 18 ปี จนถึง 35 ปี (นับเกณฑ์อายุ ปี พ.ศ.ปัจจุบัน - พ.ศ.เกิด)
              2.แบ่งตามวุฒิการศึกษา
                    -จบ ม.สามารถสอบบรรจุในตำแหน่งเสมียนหรือธุรการ ได้ตามหน่วยที่มีการเปิดสอบ ไม่ว่าจะเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เมื่อสอบได้ก็จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น สิบตรี, จ่าตรี, จ่าอากาศตรี ขึ้นอยู่กับเหล่าทัพ
                   -จบ ม.6, ปวช., ปวส. สามารถใช้วุฒิที่เรียนมาสอบบรรจุได้เช่นเดียว และได้รับการแต่งตั้งยศเช่นเดียวกับวุฒิ ม.แต่จะมีตำแหน่งที่เลือกลงสอบบรรจุได้มากกว่า วาระการเลื่อนยศครองยศจะไวกว่า และขั้นเงินเดือนขั้นแรกจะมากกว่า
                  - จบปริญญาตรี สามารถใช้วุฒิตามสาขาที่เรียนในการสอบบรรจุ ซึ่งตำแหน่งที่เปิดรับนี้จะระบุคุณวุฒิสาขาที่ต้องการ โดยตรงกับกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เมื่อสอบได้ก็จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น ร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรี ตามเหล่าทัพที่บรรจุ
  
          จำนวนอัตราที่เปิดรับในแต่ละปี
               -นายทหารสัญญาบัตร ประมาณ 50-200 อัตรา
               -นายทหารประทวน ประมาณ 200-800 อัตรา

          คุณสมบัติทั่วไป (ทหารหญิง)
                -สอบชั้นประทวน อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ไม่เกิน 30 ปี, สอบชั้นสัญญาบัตร อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ไม่เกิน 35 ปี
                -ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม. (บางตำแหน่งต้องการส่วนสูงมากกว่า 150 ซม.)
              -มีคุณวุฒิการศึกษาตามที่กำหนด
                -มีสัญชาติไทย
                -อวัยวะ รูปร่าง ท่าทางและลักษณะร่างกายมีความเหมาะสม

          การสมัครสอบ
                ปกติจะมีการเปิดรับสมัครในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ ( เดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม) เนื่องจากครึ่งปีหลังจะใช้ในธุรการในการบรรจุให้กับคนที่ผ่านการสอบ แต่ครึ่งปีหลังก็จะมีการเปิดรับสมัครสอบเช่นกัน แล้วแต่ความเร่งด่วนในความต้องการกำลังพลของหน่วย แต่จะไม่มากเท่ากับครึ่งปีแรก
                การสมัครนั้นมีอยู่ แบบ คือ สมัครด้วยตนเอง และสมัครออนไลน์ แล้วแต่นโยบายของหน่วยรับสมัคร สามารถติดตามข่าวสารได้ตามเว็บไซด์ ดังนี้
                -กองทัพไทย www.rtarf.mi.th
                -กองทัพบก www.rta.mi.th
                -กองทัพเรือ www.navy.mi.th
                -กองทัพอากาศ rtaf.mi.th
                หรือตามเว็บไซด์อื่นที่ประกาศข่าว

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หลักฐานเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อการสอบเข้ารับราชการทหาร

เอกสารหลักฐานต่างๆ นั้นมีความสำคัญในทางธุรการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเอกสารที่ทางราชการออกให้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งต้องใช้ในการตรวจสอบตัวบุคคลในการทำธุรกรรมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ธุรกรรมทางการเงิน การสมัครงาน การสมัครเข้าศึกษาในสถานศึกษา เป็นต้น 

วันนี้จะมาขอพูดถึงเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมเพื่อการสมัครสอบข้าราชการทหาร ตำรวจ ซึ่งจะใช้เอกสารหลักฐาน 4 ประเภท 
  1. เอกสารทั่วไป
    • ใบสมัคร
    • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ไม่สวมหมวกและแว่นตา (ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 2 รูป
  2. เอกสารทางทะเบียนราษฎร์
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครสอบ และบิดามารดา
    • สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัครสอบ และบิดามารดา *ใช้ยืนยันสัญชาติไทยของบิดามารดา ปู่ย่าตายาย หาก.บิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร มารดาไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติไทยก็ได้
    • สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล ของผู้สมัคร และบิดามารดา (ถ้ามี)
    • สำเนามรณะบัตร ของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  3. เอกสารทางทหาร 
    • หนังสือลงบัญชีทหารกองเกิน(สด.9) คือ หนังสือที่ผู้ชายอายุ 17 ย่าง 18 ปีทุกคน ต้องไปลงบัญชีเป็นทหารกองเกิน ตามกฏหมาย *เฉพาะผู้สมัครที่เป็นบุคคลพลเรือน
    • ใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด.43) คือ หนังสือที่ได้รับหลักจากที่ผ่านการคัดเลือกแล้วไม่ได้เข้าประจำการ *เฉพาะผู้สมัครที่เป็นบุคคลพลเรือน
    • หนังสือสำคัญประจำตัวรับรองวิทยฐานะ รด.ปี 3 ,ปี 5 *เฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการเรียน รด. ขอได้ที่ต้นสังกัด
    • สำเนาสมุดประจำตัวทหารกองหนุน (สด.8) *เฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการเรียน รด.หรือ ผ่านการเป็นทหารกองประจำการ
    • สำเนาทะเบียนกองประจำการ (สด.3) *เฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการ ขอได้ที่สัสดีจังหวัด
    • สำเนาประวัติทหารบก (แบบ ทบ.100-075) *เฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการ ขอได้ที่ต้นสังกัด
    • หนังสือรับรองความประพฤติของผู้บังคับบัญชา (รับรองไม่เกิน 6 เดือน) *ขอได้ที่ต้นสังกัด
    • ใบรับรองแพทย์ (แบบ ทบ.466-620) จากแพทย์ทหารประจำการของ รพ.ค่ายทหาร (ไม่เกิน 6 เดือน)
    • หลักฐานการขอเพิ่มคะแนนพิเศษ(ถ้ามี)
  4. เอกสารทางการศึกษา
    • สำเนาหลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา 
เอกสารทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวมานั้น สามารถใช้สมัครสอบได้ทั้งนายทหารประทวน และนายทหารสัญญาบัตร ดังนั้น เอกสารหลักฐานพวกนี้ควรเตรียมให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อมีประกาศรับสมัครออกมา เราก็สามารถที่จะนำเอกสารที่เราเตรียมไว้ไปสมัครได้เลย ไม่ต้องวุ่นวายในการรวบรวมเอกสาร เพราะห้วงการรับสมัครสอบบางที่ เป็นห้วงสั้นๆ ทำให้บางคน เตรียมเอกสารไม่ทัน เนื่องจากเอกสารบางอย่างต้องใช้เวลาในการขอ เช่น การขอใบรับรองความประพฤติ การขอสำเนาประวัติทหารบก เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การเตรียมร่างกายเพื่อการทดสอบสมรรถภาพเข้ารับราชการทหาร

การทดสอบสมรรถภาพร่างกายในการสอบเข้ารับราชการทหาร จะมีการทดสอบความแข็งแรงของร่างกายในท่าพื้นฐานต่างๆ ดังนี้

 1. ดึงข้อ
 2. ดันพื้น นาที

 3. ลุกนั่ง นาที
 4. วิ่ง ระยะ 2 กิโลเมตร
 5. ว่ายน้ำ 100 เมตร
แต่ในการทดสอบบางที่ก็จะใช้เพียง ท่าเท่านั้น คือ ดันพื้น ลุกนั่ง และ วิ่ง กม. เช่น การทดสอบนายสิบบรรจุจากทหารกองหนุน เป็นต้น
วันนี้ขอพูดถึงในเรื่องของการเตรียมร่างกายในการทดสอบนายสิบบรรจุจากทหารกองหนุน ซึ่งก็ได้กล่าวในไว้ข้างต้นว่าจะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ใน ท่า คือ ดันพื้น ลุกนั่ง และ วิ่ง กม. ซึ่งเกณฑ์ในการวัดผลในการทดสอบจะมีเกณฑ์ อายุมากำกับด้วย เช่น คนอายุน้อยต้องทำจำนวนมากกว่าคนอายุมากถึงจะผ่านเหมือนกัน มาดูเกณฑ์วัดผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งเป็นเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพร่างกายประจำปีของทหาร ตามตารางนะครับ
ท่าที่ทดสอบ
ดันพื้น(ครั้ง)
ลุกนั่ง (ครั้ง)
วิ่ง กม.
เดิน
อายุ
เพศ
50%
60%
70%
80%
100%
50%
60%
70%
80%
100%
50%
60%
70%
80%
100%
ผ่าน
17-21
ชาย
32
42
52
62
82
42
52
62
72
92
11.00
10.10
9.20
8.10
6.50
22.30
หญิง
13
18
28
38
58
40
50
60
70
90
13.00
12.10
11.20
10.30
8.50
23.50
22-26
ชาย
31
40
50
60
80
37
47
57
67
87
11.25
10.35
9.45
8.55
7.15
22.50
หญิง
11
16
26
36
56
35
45
55
65
85
13.25
12.35
11.45
10.55
9.15
24.10
27-31
ชาย
28
38
48
58
78
32
42
52
62
82
11.55
11.05
10.15
9.25
7.45
23.10
หญิง
10
15
24
34
54
30
40
50
60
80
13.55
13.05
12.16
11.25
9.45
23.30
32-36
ชาย
23
33
43
53
75
28
38
48
58
78
11.24
11.35
10.45
9.55
8.15
23.30
หญิง
9
14
22
32
52
25
35
45
55
75
14.25
13.35
12.45
11.55
10.15
24.50
37-41
ชาย
22
32
42
52
72
25
33
43
53
73
13.00
12.10
11.20
10.35
8.50
23.50
หญิง
8
13
18
28
48
25
30
40
50
70
15.15
14.25
13.35
12.45
11.05
25.10
42-46
ชาย
18
26
36
46
66
24
29
39
49
69
13.35
12.451
11.55
11.05
9.25
24.10
หญิง
7
12
17
25
45
22
27
37
47
67
15.45
14.55
14.05
13.15
11.35
25.30
47-51
ชาย
17
22
32
42
62
22
27
37
47
67
14.10
13.20
12.30
14.10
10.00
24.30
หญิง
7
10
13
21
41
19
24
34
44
64
16.10
15.20
14.30
13.40
12.00
25.50
52 -ขึ้นไป
ชาย
13
16
26
36
56
21
26
36
46
66
14.45
13.55
13.05
12.15
10.15
25.10
หญิง
7
9
12
20
40
17
22
32
42
62
16.50
16.00
15.10
14.20
12.40
26.30

ต่อไป เรามาพูดถึงการเตรียมร่างกาย การที่เราจะไปสอบเข้ารับราชการทหารนั้น เราต้องมีการเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด เพราะว่าถ้าเราสอบได้ นั่นก็คือ งานทั้งชีวิตของเรา ถ้าจะมาเตรียมความพร้อมเมื่อมีการเปิดรับสมัคร นั่นคุณอาจจะมีโอกาสแค่เป็นผู้เข้ารับการทดสอบเท่านั้น สำหรับตัวผมนั้น ได้เตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการสอบล่วงหน้าถึง ปี ก่อนที่จะมีการสอบจริงๆ ซึงพอถึงเวลา ผมมีสิทธิสอบ ก็สามารถสอบบรรจุได้ทันที่ ดูเหมือนจะง่ายดาย แต่ผมเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้านานมาก ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ร่างกาย และทักษะที่จะสอบในภาคปฏิบัติ แน่นอนครับการเตรียมร่างกายต้องใช้เวลา การเตรียมร่างกายควรจะเตรียมอย่างน้อยก่อนสอบ เดือน พอถึงเวลาทดสอบจริงๆจะได้ผ่านฉลุยไปเลยครับ ส่วนผมนั้นในท่าดันพื้นกับลุกนั่ง เอาเกิน 100% เลยครับ
                 การเตรียมร่างกายในท่าดันพื้นและลุกนั้ง ผมเริ่มจากการที่ทำด้วยจำนวนน้อยครั้งก่อน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว ถ้าไปโหมจะทำให้เราเมื่อยล้า เช่น เริ่มต้น วันแรกๆ ก็ทำสัก ครั้ง สักสองสามวัน แล้วก็เพิ่มเป็น ครั้ง 7 ครั้งไปเรื่อยๆ ปกติผมจะดันพื้นและลุกนั่งก่อนจะอาบน้ำเสมอ ซึ่งการทำนั้นใช้เวลาไม่มากเลย พอทำไปเรื่อยๆ ก็เพิ่มจำนวนครั้งที่มากขึ้น ผลที่ได้คือ สามารถทำการดันพื้น และลุกนั่ง เอาแบบเกณฑ์ผ่านได้อย่างซิลๆ ส่วนการวิ่งก็เช่นกันครับ เริ่มตั้งแต่เบาๆไปก่อน แล้วค่อยเพิ่มความเร็วและระยะทาง ทำบ่อยๆเป็นประจำ รับรองได้ว่า พอถึงเวลาไปทดสอบ จะสามารถผ่านการทดสอบได้อย่างสบาย